แผนพีดีพีใหม่ ปลอดนิวเคลียร์
เฉือนก๊าซเหลือ ร้อยละ ๓๒ อ้างลดเสี่ยง เพิ่มซื้อเพื่อนบ้าน-พลังน้ำฉุดค่าไฟ
สนพ.เปิด
แผนพีดีพีใหม่ ปลดระวางนิวเคลียร์ อ้างรอให้ประชาชนมีความพร้อม
ประกาศเฉือนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติเหลือ
ร้อยละ ๓๒ อ้างลดเสี่ยงพม่าหยุดส่งก๊าซ
พร้อมเพิ่มรับซื้อไฟฟ้าเพื่อนบ้านและโรงไฟฟ้าพลังน้ำ
หวังลดนำเข้าแอลเอ็นจีเพื่อตรึงค่าไฟไม่ให้ถึง ๖-๗ บาทต่อหน่วย
นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
(สนพ.)
เปิดเผยว่า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.)
อยู่ระหว่างการจัดทำร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ ๒๕๕๕ ๒๕๗๓
(แผนพีดีพี ๒๐๑๓ ปรับปรุงครั้งที่ ๑)
ด้วย
การปรับปรุงให้สอดคล้อง
กับค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าเบื้องต้นปรับปรุงใหม่ตามมติคณะอนุกรรมการ
พยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าหลังสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.)
ได้ปรับลดอัตราการ ขยายตัวเศรษฐกิจ (จีดีพี)
ปี ๒๕๕๖ ลงมาอยู่ที่ร้อยละ ๔.๒
- ๕.๒
โดยหลักสำคัญต้องการกระจายชนิดเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเพื่อลดการพึ่งพา
ก๊าซธรรมชาติให้มีความมั่นคงของระบบไฟฟ้า และความต้องการไฟฟ้าที่สูงขึ้น
ลดความเสี่ยงจากการหยุดจ่ายก๊าซจากสหภาพพม่าและไฟฟ้าดับในพื้นที่ ๑๔
จังหวัดภาคใต้ เหมือนที่เกิดขึ้นในปีนี้
คาดว่าแผนดังกล่าวจะแล้วเสร็จประมาณปลายปีนี้
จากนั้นจะนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
(กพช.)
พิจารณานำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป
นายสุเทพ กล่าวว่า เบื้องต้นการกระจายเชื้อเพลิงอาจไม่กำหนดโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่มี ร้อยละ ๓ หรือ ๒,๐๐๐
เมกะวัตต์ ลงในแผน แต่ต้องขึ้นกับผลการรับฟังความเห็นอีกครั้ง
หากยังต้องการดำเนินการช่วงปลายแผน
เพราะต้องให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศสนับนุน และจะลดใช้ก๊าซธรรมชาติจาก
ร้อยละ ๕๔ เหลือ ร้อยละ ๓๒ คาดว่าจะช่วยลดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว
(แอลเอ็นจี)
จากเดิม ๒๓ ล้านตัน เหลือกว่า ๑๐ ล้านตัน
สนพ.วิเคราะห์ว่า หากนำแอลเอ็นจีจำนวน ๒๓ ล้านตัน ค่าไฟฟ้าจะอยู่ที่ประมาณ ๖-๗
บาท ต่อหน่วย จากปัจจุบันมีราคาประมาณ ๓ บาทต่อหน่วย ซึ่งการลดนำเข้าแอลเอ็นจี มีความเป็นไปได้ที่ค่าไฟฟ้าจะไม่ขยับถึง ๖-๗ บาท ต่อหน่วย ส่วนจะเป็นเท่าไรยังไม่ทราบ นายสุเทพกล่าว
นอก
จากนี้ จะรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มจาก ร้อยละ ๑๐ เป็นร้อยละ ๑๙
ของการผลิตทั้งหมดในระบบ
การจัดหาพลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนจากร้อยละ ๑๔
เพิ่มเป็นร้อยละ ๒๔ ซึ่งปัจจุบันผลิตพลังงานได้ ๙,๐๐๐
เมกะวัตต์ โดยเน้นการปลูกหญ้าเนเปียร์พืชพลังงานที่ให้พลังงานสูง
เนื่องจากไทยมีภูมิอากาศร้อนช่วยให้ผลผลิตพืชพลังงานป้อนเข้าโรงไฟฟ้าผลิต
เป็นพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้น
คาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ ๑๐,๐๐๐
เมกะวัตต์ พลังน้ำผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ ร้อยละ ๑๐ ปรับเพิ่มเป็นร้อยละ ๑๗
ซึ่งไทยมีศักยภาพพลังงานน้ำมากทั้งในประเทศและนอกประเทศ
ขณะเดียวกันจะเพิ่มสัดส่วนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดเพิ่ม
เป็น
๑๐,๐๐๐ เมกะวัตต์ จากเดิมแผนพีดีพีฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๓ วางเป้ากำลังการผลิตได้ ๓,๕๐๐ เมกะวัตต์ หรือเพิ่มจากร้อยละ ๑๓ เป็นร้อยละ
๑๘ |